วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต้นมะตูม


- มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์
- Aegle marmelos (L.) Corr.
ชื่อสามัญ
- Bael Fruit Tree, Bengal Quince
วงศ์
- LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่นๆ
- กะทันตาเถร , ตูม, , ตุ่มตัง , พะโนงค์ , มะปิน , มะปีส่า
ถิ่นกำเนิด
- ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบประปรายตาม ป่าเบญจพรรณ
ประเภท
- ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
- ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง- ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างออก ตรงข้ามกัน ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบ - ดอก เล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี- ผล เป็นรูปไข่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 ซม. ยาว 12-18 ซม. เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ด รูปรี
การขยายพันธ์
- ขยายพันธุ์ โดยการและตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
- ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง พบประปรายตามป่า เบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
ประโยชน์
- เนื้อไม้ ละเอียด สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเมื่อยังสด ใช้ทำตัวเกวียน เพลา เกวียน หวี - ยางจากผลดิบ ผสมสีทาแทนกาวได้- เปลือกของผล ให้สีเหลือง ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้- เนื้อในของผล ทำของหวานและใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วยย่อยอาหาร รักษา โรคเกี่ยวกับกระเพาะ แก้ท้องเสีย - ผลสุก รับประทาน เป็นยาระบาย

ไม่มีความคิดเห็น: