วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต้นทองกวาว




ทองกวาว
ชื่อสามัญ
- Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์
- Butea monosperma Kuntze.
วงศ์
- LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นๆ
- กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น
ถิ่นกำเนิด
- ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาค เหนือ
ประเภท
- ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
ต้น ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้นๆใบ ใบ ประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อยยอดรูปไข่กลับ ปลายมน โคนสอบ ส่วนอีก 2 ใบ รู่ไข่ค่อนข้างกว้าง โคนเบี้ยวดอก ดอก ใหญ่รูปดอกถั่ว สีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็ฯช่อตามกิ่งก้านและ ที่ปลายกิ่ง ยาว 2-15 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 7 ซม. ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมผล ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
การขยายพันธ์
- โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
- ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด ขึ้นตาม ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะ ทีแห้งแล้ง พบมากทางภาค เหนือ ส่วนภาคอื่นขึ้นกระจัดกระจาย ยกเว้นภาคใต้
ประโยชน์
- เปลือก ใช้ทำเชือกและกระดาษ - ยาง แก้ท้องร่วง - ใบ ตำพอกฝีและสิว ถอนพิษแก้ปวด ท้องขึ้น ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลัง - ดอก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า - เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว ทาแก้คันและ แสบร้อน

ไม่มีความคิดเห็น: