วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อินทนิลบก


อินทนิลบก หนึ่งในไม้ดอกสวย สีม่วงสดใสประจำป่าทุ่งใหญ่ฯ พบมากในป่าเบญจพรรณ

ลูกตลับ


ลูกตลับ , ก่อแอบ (Quercus vestia) ในทุ่งใหญ่นเรศวรพบไม้ชนิดนี้ทั้งในป่าเบญจพรรณขอบทุ่งจนถึงป่าดงดิบบนเขาสูง ซึ่งจากสภาพแวดล้มมีผลต่อการผลัดใบที่แตกต่างกัน พบการผลัดใบบ้างในต้นที่ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ส่วนต้นที่อยู่ในป่าดงดิบไม่มีการผลัดใบ ทั้งมีลำต้นสูงใหญ่กว่า จุดเด่นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ ในต้นที่ข้นในป่าดงดิบ ไม่มีต้นใดที่ไม่มีร่องรอยการปีนของหมี ในฤดูที่ติดผล พบร่องรอยการหักกิ่งเพื่อเก็บกินผลได้ทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นอาหารโปรดของหมีเลยทีเดียว

ก่อหม่น


ก่อหม่น (Lithocarpus elegans) จุดเด่นคือ ผลเชื่อมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๓-๖ ผล เป็นช่อแน่นบนก้านที่อ้วนและสั้น ยาว ๒๐-๓๐ ซ.ม. กาบหุ้มผล ๑-๒.๓ ซ.ม. รูปจานปกคลุม ๑/๔-๑/๓ ของนัท พบได้ในป่าหลายชนิด ช่อนี้เก็บจากโคนต้นซึ่งมีความสูงมากกว่า ๒๐ เมตร พบร่องรอยกิ่งถูกหักโดยสัตว์ป่าซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด มีร่องรอยการขบกัดในบางผล เป็นไม้ที่หายาก ต้นนี้อยู่ในป่าดงดิบความสูง ๑,๓๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล

เม่าหลวง


เม่าหลวง , มะเม่าสาย (Antidesma sootepense) ในทุ่งใหญ่นเรศวรพบในป่าดงดิบ ช่อนี้เป็นช่อที่หักจากแรงลมจากต้นบริเวณสนามหญ้าสำนักงานเขตฯ ปัจจุบันเป็นผลไม้ป่าที่ได้รับความสนใจในการเป็นวัตถุดิบในการผลิตไวน์ผลไม้

มะเดื่อดิน


มะเดื่อดิน (Ficus superba) จุดเด่นคือผลแบบมะเดื่อเป็นช่อแน่นเป็นพวงยาว ผลแก่สีม่วงแดงแต้มจุดขาว บางครั้งพบช่อผลเกิดที่โคนต้นซึ่งอยู่ใต้พื้นดิน พบเด็กชาวกะเหรี่ยงเก็บผลสุกกินบอกว่ามีรสหวาน ผมยังไม่มีโอกาสได้ชิมสักทีด้วยภารกิจหนาแน่นจะมีมีเวลาเสี่ยงกับอาการท้องเสีย

หวายต้น


อย่างที่ได้ออกตัวไปแล้วเรื่องความยากในการจำแนกชนิดของหวาย หวายต้นนี้ก็เป็นชื่อที่ชาวบ้านในป่าเรียกกัน พบอยู่มากในบริเวณหน่วยฯสุริยะ สาลาวะ ชาวบ้านจะตัดใบของต้นนี้ไปมุงหลังคาเท่าที่พบเห็นหลังคาที่มุงด้วย หวายต้นนี้มีความทนมาก

ต้นไม้ป่า


ไม้ป่าก็มีสถานภาพเช่นเดียวกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆในผืนป่าต่างๆ ที่นับวันจะยิ่งลดจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆตามภาวะปัจจัยคุกคามการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมต่างๆ แต่นั่นก็ไม่อาจเทียบเท่ากับปัจจัยคุกคามของมนุษย์ ที่ลดจำนวนพื้นที่ป่าลงอย่างรวดเร็วเพื่อเปลี่ยนแปลงผืนป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
เป็นที่น่ายินดีจากผลงานสำรวจวิจัยที่พบว่า ในผืนป่าของประเทศไทยมีไม้ป่าที่เป็นพืชสมุนไพรมากกว่า ๒,๐๐๐ ชนิด ในขณะที่ทั่วทวีปยุโรปพบพืชสมุนไพรเพียง ๒๐๐ กว่าชนิดเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศของผืนป่าประเทศไทยที่หาได้ยากยิ่งบนโลกที่เราอาศัยอยู่นี้
เป็นที่ทราบและยอมรับกันโดยทั่วไปในวิชาการแพทย์ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ว่า สารเคมีที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรสามารถนำมาผลิตยารักษาโรคต่างๆแก่มวลมนุษย์ชาติได้ เช่นต้นเปล้าน้อยที่ค้นพบในประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีก่อนและนำมาสกัดผลิตยาแก้โรคกระเพาะอาหาร รักษาชีวิตผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองได้หลายสิบล้านคน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นค้นพบโครงสร้างของสารเคมีในห้องทดลองแล้วจึงออกค้นหาต้นไม้ป่าที่มีคุณสมบัติทางเคมีดังกล่าวในผืนป่าประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันโรงงานผลิตยาดังกล่าวนี้ยังคงตั้งอยู่เป็นประจักษ์พยานและยังคงดำเนินการอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สองสามปีก่อนมีข่าวนักวิจัยไทยค้นพบพืชป่าอนุพรหมที่บ้านทิพุเย พื้นที่ป่ารอยต่อเขตฯทุ่งใหญ่ ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรค ดังเป็นที่ทราบกันดีของผู้เฒ่าผู้แก่ราษฎรที่สืบทอดภูมิปัญญาแพทย์แผนโบราณต่อเนื่องกันมา และเป็นที่คาดหวังได้ว่าจะมีการค้นพบไม้ป่าพืชสมุนไพรอีกหลายชนิดในอนาคตเมื่องานวิชาการและงานวิจัยพัฒนาก้าวหน้าขึ้น
ป่าไม้เปรียบเสมือนคลังยารักษาโรค ไม้ป่าพืชสมุนไพรยิ่งคงความสำคัญมากยิ่งขึ้นในโลกทุนนิยมในปัจจุบันนี้ ที่ลิขสิทธิ์ยาเป็นสิ่งมีค่ามหาศาลและกระทบต่อชีวิตผู้คนนับล้านคนในประเทศ ดังที่เป็นข้อขัดแย้งรุนแรงในการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีของประเทศไทยเสมอมา จึงสมควรที่พวกเราจะได้ช่วยกันรักษาไม้ป่าพืชสมุนไพรไว้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของลูกหลานและประเทศชาติสืบไป โดยร่วมมือช่วยกันดูแลรักษาและป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าในทุกรูปแบบ และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาผืนป่าต่างๆไว้ ในขณะเดียวกันภาครัฐและองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติต่างๆต้องเร่งประสานความคิด ความร่วมมืออย่างจริงจัง ในการคิดหามาตรการแก้ไขและจัดการ ข้อขัดแย้งของราษฎรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นปัจจัยคุกคามสถานภาพของผืนป่าและเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดขึ้นอยู่ทั่วแผ่นดินไทยดังเป็นที่ทราบกันอยู่ในปัจจุบันโดยเร็วที่สุด ด้วยเหตุที่การลดลงของพื้นที่ป่าจากเหตุปัจจัยดังกล่าวมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวลในปัจจุบันนี้ เพื่อที่ลูกหลานเราจะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง และก่นด่าคนรุ่นเราที่ไม่สามารถรักษาสมบัติอันมีค่าที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้ได้
ภาพไม้ป่าที่บันทึกไว้นี้ส่วนมากได้มาจากนายประนุช ภูมิพุก เจ้าหน้าที่ภาคสนามชมรมฯระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในโครงการเดินเท้าสำรวจเส้นทางเดินสัตว์ป่าเขตฯทุ่งใหญ่ด้านตะวันตก ซึ่งได้รับกำลังใจและคำปรึกษาจากคุณแหลมไทย อาษานอก เจ้าหน้าที่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า(WCS)ประเทศไทย และคุณนฤมล กฤษณชาญดี ภาพถ่ายไม้ป่าเหล่านี้แม้อาจมีคุณค่าความหมายให้ท่านได้ศึกษาชื่นชม แต่ก็ไม่เท่ากับคุณวิเศษอเนกอนันต์ที่เราและมวลมนุษย์ชาติจะได้รับจากไม้ป่าทั้งหลายนี้หากเราช่วยกันรักษาไว้ เพื่อรอการค้นพบและใช้ประโยชน์ในอนาคต

ต้นไม้ป่า


ต้นไม้ป่าเป็นต้นไม้ที่มีความอดทนต่อสภาวะแวดล้อมสูงมากเลยเป็นต้นไม้ที่สวยงามมาก ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะออกดอกปีละแค่ 1 ครั้งมีหลายสีดอกไม้ป่าส่วนใหญ่แล้วจะมีความทนอยู่ได้หลาย ๆวันทีเดียว

ต้นมะตูม


- มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์
- Aegle marmelos (L.) Corr.
ชื่อสามัญ
- Bael Fruit Tree, Bengal Quince
วงศ์
- LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่นๆ
- กะทันตาเถร , ตูม, , ตุ่มตัง , พะโนงค์ , มะปิน , มะปีส่า
ถิ่นกำเนิด
- ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบประปรายตาม ป่าเบญจพรรณ
ประเภท
- ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
- ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง- ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างออก ตรงข้ามกัน ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบ - ดอก เล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี- ผล เป็นรูปไข่แข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 ซม. ยาว 12-18 ซม. เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ด รูปรี
การขยายพันธ์
- ขยายพันธุ์ โดยการและตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
- ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง พบประปรายตามป่า เบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
ประโยชน์
- เนื้อไม้ ละเอียด สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเมื่อยังสด ใช้ทำตัวเกวียน เพลา เกวียน หวี - ยางจากผลดิบ ผสมสีทาแทนกาวได้- เปลือกของผล ให้สีเหลือง ใช้เป็นสีย้อมผ้าได้- เนื้อในของผล ทำของหวานและใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วยย่อยอาหาร รักษา โรคเกี่ยวกับกระเพาะ แก้ท้องเสีย - ผลสุก รับประทาน เป็นยาระบาย

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ต้นทองกวาว




ทองกวาว
ชื่อสามัญ
- Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์
- Butea monosperma Kuntze.
วงศ์
- LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นๆ
- กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น
ถิ่นกำเนิด
- ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาค เหนือ
ประเภท
- ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
ต้น ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้นๆใบ ใบ ประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อยยอดรูปไข่กลับ ปลายมน โคนสอบ ส่วนอีก 2 ใบ รู่ไข่ค่อนข้างกว้าง โคนเบี้ยวดอก ดอก ใหญ่รูปดอกถั่ว สีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็ฯช่อตามกิ่งก้านและ ที่ปลายกิ่ง ยาว 2-15 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 7 ซม. ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมผล ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
การขยายพันธ์
- โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
- ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด ขึ้นตาม ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะ ทีแห้งแล้ง พบมากทางภาค เหนือ ส่วนภาคอื่นขึ้นกระจัดกระจาย ยกเว้นภาคใต้
ประโยชน์
- เปลือก ใช้ทำเชือกและกระดาษ - ยาง แก้ท้องร่วง - ใบ ตำพอกฝีและสิว ถอนพิษแก้ปวด ท้องขึ้น ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลัง - ดอก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า - เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว ทาแก้คันและ แสบร้อน